วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สารพิษไดออกซินจากขยะ

สารพิษไดออกซิน

โดย ทศพล เปี่ยมสมบูรณ์ โทร.๐๘๙-๗๙๙-๑๒๑๒ สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.)
ไดออกซิน
ไดออกซิน เป็นชื่อสามัญของสารประกอบสารสองตระกูลที่เรียกว่า โพลีคลอริเนเตด ไดเบนโซไดออกซิน (PCDDs) และโพลีคลอริเนเตด ไดเบนโซ ฟิวแรน (PCDFs) สารเคมีที่จัดอยู่ในสองตระกูลนี้มี 210 ชนิด ซึ่งมี 17 ชนิดที่มีความเป็นพิษมากที่สุดเท่าที่เคยมีการผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการ หากสารเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ก็อาจถูกสั่งห้ามผลิตหลายปีมาแล้ว แต่เคราะห์ร้ายอยู่ที่ว่าสารพิษซึ่งไม่เป็นที่ต้องการเหล่านี้เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีอำนาจสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเผา (ไดออกซินเกิดขึ้นระหว่างที่สารประกอบอินทรีย์คลอรีนถูกเผาไหม้)
ไดออกซินเป็นสารรบกวนฮอร์โมนในมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมมีข้อโต้แย้งว่า ไดออกซินก่อเกิดและอยู่กับพวกเรานับตั้งแต่การค้นพบไฟ และในขณะที่ไดออกซินเป็นพิษร้ายแรงต่อสัตว์นั้น หาได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากมายนักเพราะร่างกายของเรามิได้เปราะบาง (อย่างสัตว์) อย่างไรก็ตามองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงความไม่เห็นด้วยในเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในเดือนกันยายน พ.. 2537 หลังจากการตรวจเอกสารเรื่องไดออกซินอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นระยะเวลาสามปี โดยนักวิทยาศาสตร์ภายในองค์กรและนักวิจัยชั้นนำเรื่องไดออกซินจากทั่วโลกและสรุปว่า
  1. ผลกระทบของสารพิษไดออกซินนั้นร้ายแรงกว่าที่เราคิดกันไว้
  2. ร่างกายดูดซึมไดออกซินส่วนใหญ่จากอาหาร และไดออกซินมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะจากการเผาขยะ
ดังนั้น คำถามประเภทไหน ซึ่งตั้งขึ้นมาในเวลาที่ถูกต้องอาจช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านี้? ด้วยการเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตเราสามารถแนะนำสิ่งเหล่านี้ได้
  1. เมื่อธรรมชาติได้สร้างสารพิษที่ตกค้าง (ทั้งภายในร่างกายและระบบนิเวศ) สมควรแล้วหรือที่เราไม่ระมัดระวังต่อการนำสารพิษตกค้างปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสารพิษที่สามารถละลายในไขมัน และสะสมในร่างกายสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดถึงกันในห่วงโซ่อาหาร
  2. มากไปกว่านั้น เมื่อธรรมชาติมิได้ก่อให้เกิดพันธะคาร์บอนคลอรีนของอินทรีย์เคมีในแม่น้ำ (อาจพบในหญ้าทะเล ราและพืชบางชนิด แต่พันธะนี้ไม่ปรากฏในสัตว์บกที่เลี้ยงลูกด้วยนม) สมควรแล้วหรือที่เราไม่ระมัดระวังการใช้คลอรีนในอุตสาหกรรม ปัจจุบันโลกผลิตคลอรีนปีละ 40 ล้านตัน และส่วนใหญ่นำไปใช้ในการผลิตสารเคมีจำพวกตัวทำละลาย สารกำจัดศัตรูพืชและพลาสติกโพลีไวนีลคลอไรด์ (PVC) สารประกอบอินทรีย์คลอรีนส่วนใหญ่เป็นสารที่ละลายได้ในไขมันและมีพิษตกค้างได้นานแสนนานในสิ่งแวดล้อม คอลบอร์นและคณะระบุว่าจากการวินิจฉัยสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนมากกว่าครึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์คลอรีน
การอบรมทางวิทยาศาสตร์ประเภทไหนที่ควรจะมีขึ้นเพื่อตระเตรียมนักวิทยาศาสตร์ให้ตั้งคำถามเหล่านี้ก่อนเกิดภัยพิบัติ แทนที่จะตั้งคำถามเมื่อความหายนะมาเยือน เราจะสอนให้นักเรียนวิทยาศาสตร์มี “สติปัญญา” เช่นเดียวกับที่มีความ “เฉลียวฉลาด” ได้อย่างไร? เป็นไปได้หรือไม่ที่วิทยาศาสตร์พื้นเมือง (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) จะหนุนช่วยให้วิทยาศาสตร์ตะวันตกตระหนักต่อคำถามเหล่านี้? ควรมีใครสักคนจะวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น “เจ็ดชั่วโคตร” ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งที่เรียกว่า “ตกค้าง” หรือไม่?


พิษจากขวดพลาสติก >0<"


พิษจากขวดพลาสติก

ที่มา: คู่มือ+ข้อมูลช่วยชาติ ลดขยะ พลาสติกและโฟม
  • ขวดพลาสติกดู "คล้าย" เป็นทางเลือกที่ดี เพราะ "ดู" สะอาด น้ำหนักเบา และตกไม่แตก
  • หลายคนชอบเก็บขวดน้ำอัดลม น้ำดื่ม และน้ำแร่ประเภทขวดลิตร หรือสองลิตร ที่ทำจากพลาสติกที่เรียกว่า PET เอาไว้ใช้ใส่น้ำดื่ม ดูๆ ก็เหมือนจะปลอดภัย แต่ระวัง!
  • ขวดพลาสติกพวกนี้ ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะภายในขวดพวกนี้ ไม่ได้เคลือบสารกันสารพิษจากพลาสติก
  • เมื่อเอาขวดพลาสติกพวกนี้ กลับมาใส่น้ำ หรือเครื่องดื่มอื่น สารพิษในเนื้อพลาสติกจะแทรกซึมเข้าไปรวมตัวกับเครื่องดื่มนั้น
  • สังเกตง่ายๆ คือ น้ำ หรือเครื่องดื่ม มีกลิ่นสารเคมีเหม็นๆ
    ห้ามดื่มน้ำที่มีกลิ่นเหม็นของพลาสติก เด็ดขาด
  • ถ้าจำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกเก่า ห้ามใช้นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์
  • ถ้าจำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกเก่า ห้ามเก็บขวดไว้ในที่ร้อนๆ หรือโดนแดด
  • ไม่ว่าจะล้างขวดด้วยวิธีไหน ก็ไม่ช่วยลดอันตรายจากสารพิษในพลาสติก และยิ่งเร่งให้การเสื่อมตัวของพลาสติกเร็วขึ้น
    เลี่ยงการนำขวดพลาสติกชนิด PET กลับมาใช้ซ้ำ
  • ขวดพลาสติกซึ่งไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้ซ้ำ ได้แก่ ขวดที่ทำจากพลาสติกเบอร์ 3 (PVC) เบอร์ 6 (PS) และเบอร์ 7 (อื่นๆ ที่ทำจาก Polycarbonate) เนื่องจากยังเป็นปัญหาในเรื่องความปลอดภัยจากการนำไปใช้ซ้ำ
  • ถ้าจำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกใส่น้ำดื่มซ้ำ ควรเลือกใช้ขวดที่ทำจากพลาสติกเบอร์ 1 (PET) เบอร์ 2 (HDPE) เบอร์ 4 (LDPE) และเบอร์ 5 (PP) โดยต้องล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันแบคทีเรีย และไม่ควรใช้ซ้ำติดต่อเป็นเวลานาน
  • สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค แนะนำให้เลือกซื้อภาชนะพลาสติกสีอ่อนๆ หรือไม่มีสีเลย และควรมองหาเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
  • ควรอ่านข้อความในฉลากเกี่ยวกับวิธีการใช้ขวด และภาชนะพลาสติกให้ถูกต้อง
...........................................................................................................................

มารู้จักขยะกันเถอะ ^ w ^

มารู้จักอายุขยะกันเถอะ!!!!
ขยะบางอย่าง อายุยืนยาวกว่ามนุษย์เราเสียอีก คุณคงไม่ต้องการมอบมรดกขยะของคุณไว้ให้คนรุ่นหลัง?


ลำดับ
วัสดุขยะ
ประมาณเวลาในการย่อยสลาย

ขวดแก้ว (Glass bottle)
๑ ล้านปี

เส้นเอ็นตกปลา (Monofilament fishing line)
๖๐๐ ปี

ขวดเครื่องดื่มพลาสติก (Plastic beverage bottle)
๔๕๐ ปี

ผ้าอ้อมเด็กใช้แล้วทิ้ง (Disposable diapers)
๔๕๐ ปี

กระป๋องอลูมิเนียม (Aluminum can)
๘๐-๒๐๐ ปี

ทุ่นโฟม (Foamed plastic buoy)
๘๐ ปี

พื้นรองเท้ายาง (Rubber boot sole)
๕๐-๘๐ ปี

ถ้วยโฟม (Foamed plastic cup)
๕๐ ปี

กระป๋องดีบุก (Tin can)
๕๐ ปี
๑๐
หนังสัตว์ (Leather)
๕๐ ปี
๑๑
ผ้าไนลอน (Nylon fabric)
๓๐-๔๐ ปี
๑๒
กล่องบรรจุอาหารเคลือบพลาสติก (Plastic film canister)
๒๐-๓๐ ปี
๑๓
ถุงพลาสติก (Plastic bag)
๑๐-๒๐ ปี
๑๔
ก้นกรองบุหรี่ (Cigarette filter)
-๕ ปี
๑๕
ถุงเท้าขนแกะ (Wool sock)
-๕ ปี
๑๖
ไม้อัด (Plywood)
-๓ ปี
๑๗
กล่องนม (Waxed milk carton)
๓ เดือน
๑๘
แกนแอปเปิล (Apple core)
๒ เดือน
๑๙
หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
๖ สัปดาห์
๒๐
เปลือกส้ม หรือเปลือกกล้วย (Orange or banana peel)
-๕ สัปดาห์
๒๑
กระดาษเช็ดมือ (Paper towel)
-๔ สัปดาห์