วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สารพิษไดออกซินจากขยะ

สารพิษไดออกซิน

โดย ทศพล เปี่ยมสมบูรณ์ โทร.๐๘๙-๗๙๙-๑๒๑๒ สถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.)
ไดออกซิน
ไดออกซิน เป็นชื่อสามัญของสารประกอบสารสองตระกูลที่เรียกว่า โพลีคลอริเนเตด ไดเบนโซไดออกซิน (PCDDs) และโพลีคลอริเนเตด ไดเบนโซ ฟิวแรน (PCDFs) สารเคมีที่จัดอยู่ในสองตระกูลนี้มี 210 ชนิด ซึ่งมี 17 ชนิดที่มีความเป็นพิษมากที่สุดเท่าที่เคยมีการผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการ หากสารเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ก็อาจถูกสั่งห้ามผลิตหลายปีมาแล้ว แต่เคราะห์ร้ายอยู่ที่ว่าสารพิษซึ่งไม่เป็นที่ต้องการเหล่านี้เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีอำนาจสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเผา (ไดออกซินเกิดขึ้นระหว่างที่สารประกอบอินทรีย์คลอรีนถูกเผาไหม้)
ไดออกซินเป็นสารรบกวนฮอร์โมนในมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมมีข้อโต้แย้งว่า ไดออกซินก่อเกิดและอยู่กับพวกเรานับตั้งแต่การค้นพบไฟ และในขณะที่ไดออกซินเป็นพิษร้ายแรงต่อสัตว์นั้น หาได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากมายนักเพราะร่างกายของเรามิได้เปราะบาง (อย่างสัตว์) อย่างไรก็ตามองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงความไม่เห็นด้วยในเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในเดือนกันยายน พ.. 2537 หลังจากการตรวจเอกสารเรื่องไดออกซินอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นระยะเวลาสามปี โดยนักวิทยาศาสตร์ภายในองค์กรและนักวิจัยชั้นนำเรื่องไดออกซินจากทั่วโลกและสรุปว่า
  1. ผลกระทบของสารพิษไดออกซินนั้นร้ายแรงกว่าที่เราคิดกันไว้
  2. ร่างกายดูดซึมไดออกซินส่วนใหญ่จากอาหาร และไดออกซินมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะจากการเผาขยะ
ดังนั้น คำถามประเภทไหน ซึ่งตั้งขึ้นมาในเวลาที่ถูกต้องอาจช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านี้? ด้วยการเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตเราสามารถแนะนำสิ่งเหล่านี้ได้
  1. เมื่อธรรมชาติได้สร้างสารพิษที่ตกค้าง (ทั้งภายในร่างกายและระบบนิเวศ) สมควรแล้วหรือที่เราไม่ระมัดระวังต่อการนำสารพิษตกค้างปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสารพิษที่สามารถละลายในไขมัน และสะสมในร่างกายสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดถึงกันในห่วงโซ่อาหาร
  2. มากไปกว่านั้น เมื่อธรรมชาติมิได้ก่อให้เกิดพันธะคาร์บอนคลอรีนของอินทรีย์เคมีในแม่น้ำ (อาจพบในหญ้าทะเล ราและพืชบางชนิด แต่พันธะนี้ไม่ปรากฏในสัตว์บกที่เลี้ยงลูกด้วยนม) สมควรแล้วหรือที่เราไม่ระมัดระวังการใช้คลอรีนในอุตสาหกรรม ปัจจุบันโลกผลิตคลอรีนปีละ 40 ล้านตัน และส่วนใหญ่นำไปใช้ในการผลิตสารเคมีจำพวกตัวทำละลาย สารกำจัดศัตรูพืชและพลาสติกโพลีไวนีลคลอไรด์ (PVC) สารประกอบอินทรีย์คลอรีนส่วนใหญ่เป็นสารที่ละลายได้ในไขมันและมีพิษตกค้างได้นานแสนนานในสิ่งแวดล้อม คอลบอร์นและคณะระบุว่าจากการวินิจฉัยสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนมากกว่าครึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์คลอรีน
การอบรมทางวิทยาศาสตร์ประเภทไหนที่ควรจะมีขึ้นเพื่อตระเตรียมนักวิทยาศาสตร์ให้ตั้งคำถามเหล่านี้ก่อนเกิดภัยพิบัติ แทนที่จะตั้งคำถามเมื่อความหายนะมาเยือน เราจะสอนให้นักเรียนวิทยาศาสตร์มี “สติปัญญา” เช่นเดียวกับที่มีความ “เฉลียวฉลาด” ได้อย่างไร? เป็นไปได้หรือไม่ที่วิทยาศาสตร์พื้นเมือง (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) จะหนุนช่วยให้วิทยาศาสตร์ตะวันตกตระหนักต่อคำถามเหล่านี้? ควรมีใครสักคนจะวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น “เจ็ดชั่วโคตร” ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งที่เรียกว่า “ตกค้าง” หรือไม่?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น