วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บริษัทของคุณ...ผ่านมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้วรึยัง????

ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) คืออะไรหรือ??

                 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก. 14001:2548 (ISO 14001: 2004) Environmental Management System (ISO 14001:2004) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวด ล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ โดยมุ่งเน้นในการป้องกันมลพิษ (Prevention of Pollution) และการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 มาใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรในการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบและพลังงาน และการบำบัดมลพิษ
ทุกวันนี้ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นระบบซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ โดยระบบมาตรฐาน ISO 14001 มีการกำหนดโครงสร้างขององค์กรและความรับผิดชอบที่มีความจำเป็นในการบริหาร จัดการให้บรรลุตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท นอกจากนี้ระบบ ISO 14001 จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงและต้องมีการนำไปปฏิบัติในทุกระดับขององค์กร
จากข้อตกลงทางการค้าและภาษี (General Agreement on Tariffs and Trade - GATT) คาดหวังว่ามาตรฐาน ISO 14001 จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นประการแรกที่องค์กร/บริษัทต่างๆทั่วโลกต้องมีเพื่อ ประกอบการดำเนินธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าแรงขับทางการตลาดจะเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการยอมรับใน มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานนี้
รูปแบบขั้นตอนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามระบบมาตรฐาน ISO 14001 
  1. การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่ถูกกำหนดหรือได้รับความเห็นชอบมาจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ถือเป็นการให้คำมั่นสัญญาหรือคำปฏิญาณขององค์กรที่จะดำเนินงานด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างต่อ เนื่อง เช่น  การแต่งตั้งตัวแทนของฝ่ายบริหารด้านสิ่งแวดล้อม (environmental management Representative, EMR) และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ด้านอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และด้านงบประมาณ เป็นต้น
     
  2. การวางแผนการจัดการ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินงาน เนื่องจากลักษณะขององค์กรแต่ละประเภทที่นำเอาระบบมาตรฐาน ISO 14001 ไปใช้นั้นมีความแตกต่างกันทั้งรูปแบบโครงสร้างขององค์กร การบริหารจัดการ กระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน วิธีการปฏิบัติงาน วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ทั้งนี้ การวางแผนการจัดการต่างๆ ต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรด้วย 
  3. การนำไปใช้และการปฏิบัติ ขั้นตอนนี้มักประสบปัญหาอยู่เสมอ เนื่องจากการจะนำระบบมาตรฐาน ISO 14001(บทความนี้มาจาก eThaiTrade.com) หรือระบบมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปพัฒนาหรือปรับปรุงองค์กรจะก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม/ลักษณะการทำงานหรือกิจวัตรการทำงานที่ดำเนิน งานอยู่เป็นประจำเป็นเวลานาน จึงมักจะเกิดปัญหาความขัดแย้งและเกิดการต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอ  วิธีการแก้ปัญหาคือใช้วิธีอบรมให้ความรู้ ทำความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกในด้านการป้องกันและรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทำงานใกล้ตัว รวมทั้งอธิบายถึงข้อดีและข้อเสียจากการปฏิบัติงานที่ถูกต้องหรือผิดหลัก วิชาการ ดังนั้นความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการดำเนินงาน และการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขพฤติกรรม/หรือลักษณะการทำงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบ สิ่งแวดล้อมภายในองค์กรได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นไปตามระบบมาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวพอสมควร
     
  4. การตรวจสอบและแก้ไข เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากการนำระบบมาตรฐาน ISO 14001 ไปใช้หรือปฏิบัติในองค์กรไปแล้วเป็นระยะหนึ่งอย่างเหมาะสม การติดตามตรวจสอบที่สำคัญก็คือ การติดตามตรวจสอบภายในองค์กร (environmental internal audit) ต่อเนื่องเป็นประจำ โดยผลที่ได้จากการติดตามตรวจสอบจะถูกนำมาวิเคราะห์และนำเสนอให้ผู้บริหาร ระดับสูงขององค์กรรับทราบและตัดสินใจในการกำหนดวิธีการป้องกันและแก้ไขใน ด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หลาย องค์กรมักจะเข้าใจผิดว่าการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้เป็นการหาผู้กระทำผิดภาย ในองค์กร แต่แท้จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้มาจากปัญหาเรื่องคนเป็นสำคัญ โดยอาจจะเกิดจากปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวางแผนการผลิต การกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่หรือสภาพ งาน ฯลฯ ดังนั้นการตรวจสอบและแก้ไขสิ่งที่บกพร่องและไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบ มาตรฐาน ISO 14001 จึงเป็นเพียงกระบวนการแก้ไขและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมและสอด คล้องกับข้อกำหนดเท่านั้น
     
  5. การทบทวนการจัดการ เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการติดตามตรวจสอบและตรวจพบในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการทำงานมาพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับองค์กรและเป็นไปตามข้อ กำหนดของระบบมาตรฐาน ISO 14001 ที่กำหนดไว้ โดยขั้นตอนการทบทวนการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรนี้ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ EMR นำประเด็นต่างๆ ที่ตรวจพบในระบบทั้งหมดเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในการประชุมเป็น ประจำสม่ำเสมอ 
ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงต้องทำหน้าที่ในการพิจารณาผลการดำเนินงาน ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขปัญหาในระบบมาตรฐาน ISO 14001 รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละปีการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระบบมาตรฐาน ISO 14001 จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรทั้งในรูปของการลดของเสียที่เกิดขึ้น จากกระบวนการผลิต และการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะส่งผลให้องค์กรได้รับประโยชน์ทางอ้อมในด้านการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มมูลค่า ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

 

BOI คืออะไร????

     การส่งเสริมการลงทุน BOI คืออะไร?????

       สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) : Borad of Investment (BOI)  คือ หน่วยงานที่ช่วยในการส่งเสริมการลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร เช่น การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิตบุคคล การยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ/วัสดุจำเป็น และสิทธิประโยขน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรเช่น การบริการอำนวยความสะดวก แก่นักลงทุนในการดำเนินการ
นโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) : Borad of Investment (BOI
  • สนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรไทย  เพื่อสิทธิประโยชทางภาษีพิเศษเพื่อส่งเสริม สนับสนุนแล้วเสริมสร้างพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรไทยอย่างครบวงจร
  • ส่งเสริมเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Skill Technology & Innovation-STI) โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่โครงการที่มีการพัฒนาด้าน STI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • ส่งเสริมกิจการซอฟแวร์ มีการปรับประเภทกิจการซอฟต์แวร์ใหม่โดยเน้นการให้การส่งเสริมเป็นกลุ่ม ธุรกิจ แทนที่จะเป็นลักษณะการทำงาน (Activity Group) เพื่อดึงดูดกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ของ ประเทศในอนาคตเพิ่อเพิ่มสิทธิประโยชน์
  • ส่งเสริมสนับสนุน SMEs ไทย  โดย BOI ปรับบทบาทการส่งเสริมการลงทุนแก่ SMEs ไทย ตามยุทธศาสตร์การพัฒนา SMEs ของรัฐบาลเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีและลดเงื่อนไขให้เอื้ออำนวยแก่ กิจการเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ พิเศษสำหรับ SMEs ที่มีสินทรัพย์ถาวรสุทธิหรือขนาดการลงทุน (ไม่รวมที่ดินและทุนหมุนเวียน) รวมทั้งบริษัท ไม่เกิน 200 ล้านบาท
  • เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ่มค่าในการใช้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากร
  • สนับสนุนให้อุตสาหกรรมพัฒนา ระบบคุณภาพและมาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า
  • ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  • สนับสนุนการลงทุนเป็นพิเศษในภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ และมีสิ่งเอื้ออำนวยต่อการลงทุนน้อย โดยให้สิทธิและประโยชน์ด้านอากรสูงสุด
  • ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เงินลงทุนขั้นต่ำของโครงการที่จะได้รับการส่งเสริมเพียง 500,000 (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) และไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับกิจการอื่น
  • ให้ความสำคัญกับกิจการเกษตรกรรมและผลผลิตจากการเกษตร กิจการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ กิจการสาธารณูปโภคและบริการพิ้นฐาน กิจการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น

พลาสติดรีไซเคิลเป็นน้ำมันดิบ

จับพลาสติกรีไซเคิลเป็นน้ำมันดิบ Turning Plastic Waste Into Crude Oil

              ปัจจุบันประเทศไทย มีขยะพลาสติกประมาณปีละ 2.7 ล้านตัน แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพียง 0.2 ล้านตันเท่านั้น ที่เหลือนั้นจะนำไปทำงายโดยการฝัง การเผา ถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ทีสามารถแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมัน ดิบ โดยตระหนักว่านับวันปัญหาขยะพลาสติกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประโยชน์จากการกระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกให้ออกมาในรูปของน้ำมันดิบจะมี ผล ทำให้ลดการเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันไทยเราต้องสั่งนำเข้านับแสนล้านบาทต่อปี รวมถึงยังลดปัญหาด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
คุณสันติวิภา พานิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิ้ลเกิ้ล พอยท์ เอ็นเนอยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนท์ จำกัด หรือ เอสพีอีอี ให้สัมภาษณ์กับทางนิตยสาร “Asia-Pacific PLAS & PACK” ว่า ปัจจุบันมีการใช้พลาสติกทั่วโลกถึง ปีละประมาณ 100 ล้านตันและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุเกิดมาจากการใช้ในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ และด้านอื่นๆ อีกมากมาย ในส่วนพลาสติกที่ใช้แล้วนั้น ต้องใช้เวลาถึง 500 ล้านปีถึงจะย่อยสลาย ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาขยะพลาสติกที่ล้นเมือง ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันมีหลายฝ่ายที่กำลังร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางกำจัดขยะ พลาสติกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นที่น่ายินดียิ่งที่มีนักวิจัยโปแลนด์ได้ คิดค้นเทคโนโลยี Polymer Energy ขึ้นมาเปลี่ยนขยะพลาสติกให้ลดลง ช่วยแก้วิกฤตทั้งสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
         โดยบริษัท ซิ้งเกิ้ล พอยท์ เอ็นเนอยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด ได้รับลิขสิทธิ์ในการนำเข้านวัตกรรมในการแปรรูปขยะพลาสติก เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจากประเทศโปแลนด์ แต่ผู้เดียวในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอินโดจีน บริษัทจัดตั้งขึ้นโดยสัญญา Joint Venture ระหว่างบริษัท ซิ้ลเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ Northern Technologies International Corporation (NTIC) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยี ดังกล่าว (WO 2005/078049)

Polymer Energy Technology คืออะไร

Polymer Energy Technology เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นความร่วมมือระหว่างโปแลนด์และสหรัฐอเมริกา เพื่อการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันดิบ ทดแทนการเผาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในระบบชั้นบรรยากาศ หรือ การฝังกลบที่ต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าขยะพลาสติกจะย่อยสลาย โดยนำไปผ่านกระบวนการ Depolymerization คือการสลายตัวของโครงสร้างโมเลกุลที่อุณหภูมิสูง ในบรรยากาศที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการแปรรูปนี้มักเกิดที่อุณหภูมิต่ำกว่า 550 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เป็นน้ำมัน ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการกลั่นเพื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ และผลิตภัณฑ์อีกส่วนหนึ่งที่เป็นแก๊สสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับ กระบวนการผลิตในระบบ Polymer Energy ได้

 
ขั้นตอนทำงาน

เริ่มจากการป้อนขยะพลาสติกเข้าไปในเตาหลอม (Reactor) พร้อมกับตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) โดยใช้กระบอกสูบในแนวระนาบเข้าสู่ส่วนที่ทำให้หลอมเหลว จากนั้นวัตถุดิบในรูปของพลาสติกหลอมเหลวจะถูกดันต่อให้ไหลเข้าไปในแนวนอนยัง เตาหลอมเหลวที่ให้ความร้อนโดยท่อร้อน โดยที่พลาสติกที่ถูกหลอมเหลวอย่างต่อเนื่องนี้จะถูกทำให้ไหลต่อไปตามทาง เอียง โดยล้อหมุนหลายอันที่หมุนเป็นวงภายใต้ความถี่ที่พอเหมาะ ซึ่งช่วยส่งให้พลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าไปข้างหน้าจนเกิดการแตกตัว โดยให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สหรือไอของสารไฮโดรคาร์บอนลอยออกมา หลังจากนั้นจะถูกส่งจากส่วนบนของเตาไปสู่หน่วยให้ความเย็นเพื่อควบแน่นเป็น น้ำมันเหลวออกมา ส่วนแก๊สที่ไม่ควบแน่นจะถูกส่งไปเผาไหม้ให้ความร้อนกับเตาหลอม ส่วนสิ่งปนเปื้อนที่ในรูปของเถ้าจะถูกกำจัดไปยังเครื่องทำความสะอาด อัตโนมัติ โดยเทคโนโลยีนี้สามารถรองรับการปนเปื้อนของพลาสติกได้ประมาณ 25-30 % ซึ่งประเภทของขยะพลาสติกประเภทโพลีโอเลฟิน เช่น HDPE LLDPE LDPE PE และ PP โดยมีอัตราการป้อนของวัตถุดิบต่อเครื่องประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อครั้ง หรือประมาณ 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และใช้พื้นที่ในการติดตั้งทั้งระบบเพียง 500 ตารางเมตรเท่านั้น
        

 
เจาะกลุ่มลูกค้าระดับท้องถิ่น
         เทคโนโลยีนี้นอกจากจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขยะพลาสติกในปริมาณมากแล้ว ยังเหมาะสำหรับนำไปติดตั้งไว้ที่บ่อฝังกลบขยะขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศเพื่อลดปริมาณขยะและสร้างผลกำไรจากการรีไซเคิล ขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันอย่างคุ้มค่าการลงทุนสำหรับน้ำมันดิบที่ผลิตได้นั้น ทางบริษัทได้ร่วมมือกับโรงกลั่นในเครือ ปตท.และบางจากที่จะให้การสนับสนุนในการรับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายใต้ คุณภาพที่ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม โดยทางผู้ผลิตสามารถดำเนินการให้รถบรรทุกมาส่งเองที่โรงกลั่นก็ได้ ซึ่งจะต้องมีการทำข้อตกลงเป็นรายๆ


          จะเห็นได้ว่านวัตกรรมใหม่นี้ นอกจากจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ต่อผู้ลงทุนแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการจัดการพลาสติกที่ใช้แล้ว ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวมควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังช่วยประหยัดเงินตราที่ต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากต่างประเทศที่ ปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่ สุด