วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พลาสติดรีไซเคิลเป็นน้ำมันดิบ

จับพลาสติกรีไซเคิลเป็นน้ำมันดิบ Turning Plastic Waste Into Crude Oil

              ปัจจุบันประเทศไทย มีขยะพลาสติกประมาณปีละ 2.7 ล้านตัน แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพียง 0.2 ล้านตันเท่านั้น ที่เหลือนั้นจะนำไปทำงายโดยการฝัง การเผา ถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ทีสามารถแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมัน ดิบ โดยตระหนักว่านับวันปัญหาขยะพลาสติกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประโยชน์จากการกระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกให้ออกมาในรูปของน้ำมันดิบจะมี ผล ทำให้ลดการเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันไทยเราต้องสั่งนำเข้านับแสนล้านบาทต่อปี รวมถึงยังลดปัญหาด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
คุณสันติวิภา พานิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิ้ลเกิ้ล พอยท์ เอ็นเนอยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนท์ จำกัด หรือ เอสพีอีอี ให้สัมภาษณ์กับทางนิตยสาร “Asia-Pacific PLAS & PACK” ว่า ปัจจุบันมีการใช้พลาสติกทั่วโลกถึง ปีละประมาณ 100 ล้านตันและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุเกิดมาจากการใช้ในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ และด้านอื่นๆ อีกมากมาย ในส่วนพลาสติกที่ใช้แล้วนั้น ต้องใช้เวลาถึง 500 ล้านปีถึงจะย่อยสลาย ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาขยะพลาสติกที่ล้นเมือง ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันมีหลายฝ่ายที่กำลังร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางกำจัดขยะ พลาสติกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นที่น่ายินดียิ่งที่มีนักวิจัยโปแลนด์ได้ คิดค้นเทคโนโลยี Polymer Energy ขึ้นมาเปลี่ยนขยะพลาสติกให้ลดลง ช่วยแก้วิกฤตทั้งสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
         โดยบริษัท ซิ้งเกิ้ล พอยท์ เอ็นเนอยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด ได้รับลิขสิทธิ์ในการนำเข้านวัตกรรมในการแปรรูปขยะพลาสติก เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจากประเทศโปแลนด์ แต่ผู้เดียวในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอินโดจีน บริษัทจัดตั้งขึ้นโดยสัญญา Joint Venture ระหว่างบริษัท ซิ้ลเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ Northern Technologies International Corporation (NTIC) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยี ดังกล่าว (WO 2005/078049)

Polymer Energy Technology คืออะไร

Polymer Energy Technology เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นความร่วมมือระหว่างโปแลนด์และสหรัฐอเมริกา เพื่อการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันดิบ ทดแทนการเผาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในระบบชั้นบรรยากาศ หรือ การฝังกลบที่ต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าขยะพลาสติกจะย่อยสลาย โดยนำไปผ่านกระบวนการ Depolymerization คือการสลายตัวของโครงสร้างโมเลกุลที่อุณหภูมิสูง ในบรรยากาศที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการแปรรูปนี้มักเกิดที่อุณหภูมิต่ำกว่า 550 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เป็นน้ำมัน ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการกลั่นเพื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ และผลิตภัณฑ์อีกส่วนหนึ่งที่เป็นแก๊สสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับ กระบวนการผลิตในระบบ Polymer Energy ได้

 
ขั้นตอนทำงาน

เริ่มจากการป้อนขยะพลาสติกเข้าไปในเตาหลอม (Reactor) พร้อมกับตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) โดยใช้กระบอกสูบในแนวระนาบเข้าสู่ส่วนที่ทำให้หลอมเหลว จากนั้นวัตถุดิบในรูปของพลาสติกหลอมเหลวจะถูกดันต่อให้ไหลเข้าไปในแนวนอนยัง เตาหลอมเหลวที่ให้ความร้อนโดยท่อร้อน โดยที่พลาสติกที่ถูกหลอมเหลวอย่างต่อเนื่องนี้จะถูกทำให้ไหลต่อไปตามทาง เอียง โดยล้อหมุนหลายอันที่หมุนเป็นวงภายใต้ความถี่ที่พอเหมาะ ซึ่งช่วยส่งให้พลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าไปข้างหน้าจนเกิดการแตกตัว โดยให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สหรือไอของสารไฮโดรคาร์บอนลอยออกมา หลังจากนั้นจะถูกส่งจากส่วนบนของเตาไปสู่หน่วยให้ความเย็นเพื่อควบแน่นเป็น น้ำมันเหลวออกมา ส่วนแก๊สที่ไม่ควบแน่นจะถูกส่งไปเผาไหม้ให้ความร้อนกับเตาหลอม ส่วนสิ่งปนเปื้อนที่ในรูปของเถ้าจะถูกกำจัดไปยังเครื่องทำความสะอาด อัตโนมัติ โดยเทคโนโลยีนี้สามารถรองรับการปนเปื้อนของพลาสติกได้ประมาณ 25-30 % ซึ่งประเภทของขยะพลาสติกประเภทโพลีโอเลฟิน เช่น HDPE LLDPE LDPE PE และ PP โดยมีอัตราการป้อนของวัตถุดิบต่อเครื่องประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อครั้ง หรือประมาณ 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และใช้พื้นที่ในการติดตั้งทั้งระบบเพียง 500 ตารางเมตรเท่านั้น
        

 
เจาะกลุ่มลูกค้าระดับท้องถิ่น
         เทคโนโลยีนี้นอกจากจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขยะพลาสติกในปริมาณมากแล้ว ยังเหมาะสำหรับนำไปติดตั้งไว้ที่บ่อฝังกลบขยะขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศเพื่อลดปริมาณขยะและสร้างผลกำไรจากการรีไซเคิล ขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันอย่างคุ้มค่าการลงทุนสำหรับน้ำมันดิบที่ผลิตได้นั้น ทางบริษัทได้ร่วมมือกับโรงกลั่นในเครือ ปตท.และบางจากที่จะให้การสนับสนุนในการรับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายใต้ คุณภาพที่ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม โดยทางผู้ผลิตสามารถดำเนินการให้รถบรรทุกมาส่งเองที่โรงกลั่นก็ได้ ซึ่งจะต้องมีการทำข้อตกลงเป็นรายๆ


          จะเห็นได้ว่านวัตกรรมใหม่นี้ นอกจากจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ต่อผู้ลงทุนแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการจัดการพลาสติกที่ใช้แล้ว ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวมควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังช่วยประหยัดเงินตราที่ต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากต่างประเทศที่ ปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่ สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น